หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการอนุวัติมาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
iCPCJ
เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านความยุติธรรม และความคาดหวังต่อระบบยุติธรรมทางอาญายุคใหม่ TIJ Academy ได้ร่วมมือกับสํานักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพของผู้นําด้านความยุติธรรมในการคิดริเริ่มออกแบบและบริหารงานการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับบริบทความต้องการของประชาชน
ดาวน์โหลดโบรชัวร์หลักสูตร
องค์ประกอบหลักสูตร
ระยะเวลาการอบรม
หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการอนุวัติมาตรฐานและ บรรทัดฐานระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม (The Executive Programme for the Implementation of International Standards and Norms in Crime Prevention and Criminal Justice – iCPCJ) นําเสนอประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา พร้อมทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติทางเลือกต่างๆ ที่จะสนับสนุนการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกสําหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ตลอดทั้งกระบวนการ
ระหว่างเข้ารับการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้กรอบแนวคิดและหลักการของมาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการนํามาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศเหล่านั้นไปประยุกต์ปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานให้กับกระบวนการยุติธรรมทั้งในบริบทของประเทศไทยและระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเลือกเข้าร่วมในกิจกรรมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นเป็นส่วนเสริมการอบรมภายใต้หลักสูตร เพื่อช่วยเพิ่มพูนทักษะและกลยุทธ์การบริหารงานยุติธรรมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งในขณะเดียวกันเป็นการเปิดโอกาสการขยายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งในและนอกกระบวนการยุติธรรม และร่วมกันนํานวัตกรรมหรือแนวคิดการทํางานรูปแบบใหม่ มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลและยั่งยืนมากขึ้น
ภายหลังการจบหลักสูตร ผู้เข้าร่วมหลักสูตรจะมีโอกาสได้ออกแบบ และดําเนินโครงการที่เกี่ยวกับหัวข้อตามความสนใจพร้อมนําเสนอ แนวคิดในระยะต้นต่อสาธารณะ โดยกิจกรรมนี้ TIJ Academy และ UNODC มีความตั้งใจที่จะให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรได้สะท้อน ความรู้ความเข้าใจของตนเองในประเด็นด้านความยุติธรรมทางอาญาในมิติต่างๆ รวมถึงความสําคัญของมาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศและการประยุกต์ปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทของกระบวนการยุติธรรมไทย
เนื้อหาในหลักสูตร
รูปแบบการเรียนการสอนของหลักสูตร iCPCJ จะประกอบ ไปด้วยการบรรยาย การยกตัวอย่างกรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีและการแบ่งปันประสบการณ์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในและต่างประเทศในสาขาวิชาต่างๆ โดยตลอดการเรียนการสอนจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนและเสนอความคิดเห็นตลอดทั้งหลักสูตร หลักสูตรนี้จะจัดขึ้นโดยใช้ภาษาไทยเป็นหลัก ทั้งนี้หากมีการ ใช้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ ระหว่างการเรียนการสอนจะมีการแปลเป็นภาษาไทยให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้มีสิทธิเข้ารับการอบรมหลักสูตร iCPCJ จะต้องผ่านการพิจารณาคัดเลือก และได้รับอนุมัติให้เข้ารับการอบรมจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยจะพิจารณาคัดเลือกจากบุคคลในหน่วยงานต่างๆ ที่มีคุณสมบัติหลายด้านที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม
- บุคคลในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม
- บุคคลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
- บุคคลที่มีบทบาททางสังคม ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน
รวมจํานวนไม่เกิน 45 คน
คุณสมบัติ
กลุ่มบุคลากรภาครัฐ
- ข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญหรือเทียบเท่าขึ้นไป / อํานวยการสูงและผู้บริหารระดับต้น
- ข้าราชการตุลาการชั้น 3 (อาวุโสไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษา หัวหน้าศาล) ขึ้นไป
- ข้าราชการอัยการชั้น 4 ขึ้นไป
- ข้าราชการตํารวจยศพันตํารวจเอก (รองผู้บังคับการ) ขึ้นไป
- ข้าราชการทหารยศพันเอก (น.5) ขึ้นไป
- พนักงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและหน่วยงานอื่นของรัฐ ระดับกรรมการและผู้บริหารระดับสูง
- ข้าราชการหรือพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญหรือเทียบเท่าขึ้นไป/อํานวยการท้องถิ่นระดับสูง/บริหารท้องถิ่นระดับสูง
- บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไปหรือมีตําแหน่งทางการบริหารไม่ต่ำกว่ารองคณบดี
- บุคลากรองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ขึ้นไป
กลุ่มบุคลากรอื่น
- ทนายความและสื่อมวลชนที่มีอายุงาน 20 ปีขึ้นไป
- บุคลากรจากภาคเอกชน ผู้ดำรงตําแหน่งกรรมการบริษัท กรรมการบริหารบริษัท หรือผู้บริหารระดับสูง
- ผู้บริหารองค์กรภาคประชาชนที่ไม่แสวงหากําไร เช่น มูลนิธิ สมาคม องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นต้น
ผู้สมัครเข้ารับการอบรมต้องไม่อยู่ระหว่างการฝึกอบรม ในหลักสูตรอื่นๆ ที่มีระยะเวลาหรือช่วงเวลาการฝึกอบรมทับซ้อนกับหลักสูตร iCPCJ
ค่าลงทะเบียน
ผู้เข้ารับการอบรมจากภาครัฐ :
ได้รับยกเว้นค่าลงทะเบียนเข้าร่วมหลักสูตร
ผู้เข้ารับการอบรมจากภาคอื่นๆ :
มีค่าลงทะเบียนเข้าร่วมหลักสูตร ท่านละ 20,000 บาท
หมายเหตุ :
ผู้เข้ารับการอบรมที่สังกัดภูมิภาค ไม่สามารถเบิกค่าเดินทางไป – กลับ ในการอบรมได้
การสมัครและการคัดเลือก
- สมัครโดยกรอกเอกสารใบสมัครพร้อมแนบเอกสารการลงนาม รับรองโดยผู้บังคับบัญชาผ่านเว็บไซต์ www.tijacademy.org ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2566
- คณะกรรมการบริหารหลักสูตร iCPCJ จะพิจารณาเฉพาะใบสมัครที่มีการลงนามโดยผู้บังคับบัญชาสูงสุดในหน่วยงาน เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี อธิการบดี เป็นต้น
- คณะกรรมการบริหารหลักสูตร iCPCJ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกและดุลยพินิจนั้นถือเป็นสิ้นสุด
- คณะกรรมการบริหารหลักสูตร iCPCJ จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมภายในวันที่ 10 มีนาคม 2566
เงื่อนไขการสําเร็จการอบรม
มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมและส่งผลงานตามที่ หลักสูตรกําหนดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ต้ังแต่บัดนี้ – 1 มีนาคม 2566
: เปิดรับสมัคร
10 มีนาคม 2566
: ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรม
24 มีนาคม 2566
: ปฐมนิเทศ
มีนาคม – สิงหาคม 2566
: อบรมตามที่หลักสูตรกําหนด
หมายเหตุ
• การอบรมจัดทุกวันศุกร์ ยกเว้นวันที่กําหนดให้มีการศึกษาดูงานหรือวันหยุดราชการ
• หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความรุนแรง รูปแบบและกําหนดการจัดกิจกรรมต่างๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมตามมาตรการของภาครัฐ ซึ่งจะแจ้งให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ TIJ Academy ให้ความสําคัญ ต่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับการอบรมและคํานึงถึงการปฏิบัติตามมาตรการของรัฐโดยเคร่งครัด