ไฮไลท์

Highlights

ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) และการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงในประเทศไทย
20 June 2022

ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) หรือ RJ อีกหนึ่งแนวคิดในการส่งเสริมความยุติธรรมทางอาญา เป็นมาตรการทางเลือกที่ไม่ใช่การแทนที่หรือยกเลิกกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก แต่เป็นกระบวนการที่มุ่งผลลัพท์ในเชิงสมานฉันท์ เสริมพลังผู้เสียหาย และประสานความเข้าใจระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผ่านการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและหาข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ได้ทางออกที่ช่วยลดความเสียหาย ทำให้ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันในชุมชนหรือสังคมได้ (Social Harmony)

Read More >
แนวคิดใหม่ในการส่งเสริมความยุติธรรมทางอาญา
20 June 2022

#iCPCJ2022 หัวข้อหลักที่ 4: แนวคิดใหม่ในการส่งเสริมความยุติธรรมทางอาญา นอกจากการดำเนินความยุติธรรมผ่านกระบวนการยุติธรรมแบบดั้งเดิม ยังมีแนวคิดเรื่องความยุติธรรมทางเลือก ซึ่งช่วยส่งเสริมการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เช่น ความยุติธรรมในชุมชน (community-based justice) ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (restorative justice)

Read More >
ความท้าทายของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
20 June 2022

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 #iCPCJ2022 หัวข้อหลักที่ 3: ความท้าทายของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มุ่งเน้นสำรวจและหารือแนวทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ในบริบทของประเทศไทย #iCPCJ ชวนผู้เข้ารับการอบรมร่วมพูดคุยภาพใหญ่เกี่ยวกับปัญหาและความท้าทายสำคัญในการบรรลุเป้าหมายด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะปัญหาในเชิงโครงสร้าง

Read More >
มาตรฐานระดับโลก สู่การเปลี่ยนแปลงในสังคม
20 June 2022

มาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศ (International Standards and Norms) แม้ว่าจะเป็น soft law หรือปฏิญญาทางการเมืองที่ไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายโดยตรง แต่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประเทศสมาชิกในการนำไปใช้อ้างอิง เพื่อปรับกฎระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ตามบริบทของแต่ละประเทศ สิ่งสำคัญคือ สามารถนำไปสู่การยกร่างกฎหมายที่สำคัญ

Read More >
TIJ ร่วมกับ UNODC จัดอบรมข้อกำหนดแมนเดลาให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์
15 March 2022

ข้อกำหนดแมนเดลามีความสำคัญต่อการบริหารจัดการเรือนจำเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขัง การไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง การคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัย และลดการกระทำผิดซ้ำ ตลอดจนความปลอดภัยของผู้ต้องขัง เจ้าหน้าที่ ผู้ให้บริการด้านต่าง ๆ ในเรือนจำและผู้เข้าเยี่ยม ดังนั้นข้อกำหนดแมนเดลาจึงเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการรักษามาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง และการบริหารจัดการเรือนจำให้เป็นไปตามบริบทสากล TIJ ซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริมการอนุวัติข้อกำหนดและมาตรฐานสากลในประเทศไทย จึงร่วมกับ

Read More >
ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา
02 February 2022

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 #iCPCJ2022 หัวข้อหลักที่ 2: ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา เพื่อให้เห็นภาพของการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ผ่านกลไกและเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรอบความตกลงระหว่างประเทศ การส่งเสริมและผลักดันประเด็นด้านความยุติธรรมผ่านกลไกสหประชาชาติ (United Nations)

Read More >
การปรับตัวของผู้ค้ายาเสพติด ช่วงโควิด-19
26 January 2022

สถานการณ์ยาเสพติดในภูมิภาคอาเซียน มีข้อมูลการตรวจยึด ยาบ้า ชนิด “เมทแอมเฟตามีน” มากขึ้นทุกๆ ปีในอาเซียน โดยประเทศไทยมีข้อมูลการจับกุมมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งในอดีตมีจุดผลิตยาบ้าหลัก คือ ทางตอนใต้ของประเทศจีน ต่อมาเปลี่ยนไปอยู่ที่รัฐฉาน

Read More >
เมื่ออาชญากรรมไร้พรมแดน!
26 January 2022

อาชญากรรมไซเบอร์ (Cybercrime) ไม่มีคำจำกัดความที่แน่นอน โดยรวม คือ การกระทำความผิดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ไม่มีขอบเขตทางกายภาพและทางภูมิศาสตร์ ปี 2021 ที่ผ่านมา มีการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้น มากที่สุด คือ Ransomware (เข้ารหัสในบัญชีของเหยื่อ

Read More >
อาชญากรรมไซเบอร์: ข้อจำกัดด้านกฎหมายและความท้าท้ายในการรับมือ
26 January 2022

จากรายงานล่าสุด สถิติอาชญากรรมไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดกว่า 150% คือ ransomware หรือไวรัสเรียกค่าไถ่ ที่เรียกเอาเงินของเหยื่อ แลกกับการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่ถูกขโมยและล็อกรหัสไว้ ความท้าทายสำคัญของการรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ ได้แก่ ความยากในการเข้าถึงและได้มาซึ่งข้อมูล ข้อมูลที่ต้องนำมาใช้วิเคราะห์ปริมาณมาก การกระทำผิดเกี่ยวข้องหลายประเทศ รวมทั้งข้อจำกัดด้านกฎหมายที่อาจยังไม่ครอบคลุม อ่านผลการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับอาชญากรรมไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้จากรายงาน

Read More >
แนวโน้มอาชญากรรมระหว่างประเทศและอาชญากรรมที่เกิดขึ้นใหม่ มีอะไรบ้าง ?
26 January 2022

อาชญากรรมไซเบอร์ ที่มีความท้าทายต่อการรับมือมากขึ้น เนื่องจากมีความยากต่อการเข้าถึง การกระทำผิดมีความเกี่ยวข้องกับหลายประเทศ และกฎหมายยังไม่ครอบคลุม ในส่วนสถิติอาชญากรรมไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดกว่า 150% คือ ransomware หรือไวรัสเรียกค่าไถ่ การค้ายาเสพติด มีรายงานการตรวจพบเฮโรอีนและเมทแอมเฟตตามีนมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีปัญหาการระบาดของเมทแอมเฟตามีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากกว่า 71% โดยปี

Read More >