ไฮไลท์

Highlights

25 July 2022

เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต้นแบบการใช้ EM ของประเทศเกาหลี

#iCPCJ2022 เข้าเยี่ยมชมและรับฟังแนวทางการใช้ Electronic Monitoring (EM) ของสาธารณรัฐเกาหลีโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Central Electronic Monitoring Center และจากฝ่ายด้านการติดตามตัวโดยการใช้อุปกรณ์อิเล็ทรอนิกส์ (Electronic Monitoring Division) ภายใต้สำนักนโยบายด้านการป้องกันอาชญากรรมของกระทรวงยุติธรรมเกาหลี

โดยถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้รับเกียรติจากคุณ Mun Heui-Gab, Director General of Central Electronic Monitoring Center, Ministry of Justice of the Republic of Korea โดยการบรรยายเน้นในประเด็นเรื่องพัฒนาการของการใช้เครื่องมือ  EM ในการติดตามตัว เปิดให้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติงาน รวมถึงทดลองการใช้ระบบการทำงานของเครื่องมือเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่และเครื่องมือได้มากขึ้น ณ Justice Tracking Central Control Center

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอบรม iCPCJ2022 ยังได้ร่วมรับฟังและหารือกับคุณ Sun Ok Shim, Director of Electronic Supervision Division และ Lee Hyon, Chief Senior Staff of Crime Prevention Planning Bureau (CPPB) ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญของสาธารณรัฐเกาหลีนั้น ถือเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรมเป็นอย่างมาก

การใช้ EM ที่ประเทศเกาหลี ถือเป็นหนึ่งในโมเดลที่ประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีติดตามตัวแทนการคุมขัง นอกจากนี้ การใช้ EM ยังมุ่งเน้นไปที่บทบาทของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายของการใช้ EM ในสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างเจ้าหน้าที่คุมประพฤติและผู้กระทำความผิด เพื่อลดความเครียดระดับสูงของผู้กระทำความผิด และลดการกระทำผิดซ้ำ นอกจากนี้ EM ยังสามารถเรียกว่าเป็น “การเข้าแทรกแซงที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง” มากกว่าการแทรกแซงโดยเน้นเทคโนโลยี

นอกจากนี้ ยังเป็นต้นแบบของการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและการสื่อสาร (ICT) และ Internet of Things (IoT) ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ EM ใช้งานได้อย่างเสถียร ทำให้สำนักนโยบายป้องกันอาชญากรรม (Crime Prevention Policy Bureau – CPPB) ภายใต้กระทรวงยุติธรรม สามารถใช้โปรแกรม GPS ที่ใช้งานอยู่ได้สำเร็จ นอกจากนี้ CPPB ยังได้พัฒนาและนำอุปกรณ์ติดตามแบบชิ้นเดียวมาใช้ในปี 2561 เพื่อลดข้อจำกัดทางเทคนิคและความไม่สะดวกของอุปกรณ์ติดตามแบบสองชิ้นก่อนหน้านี้ได้ ซึ่งถือเป็นแนวทางที่สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยลดปัญหาในระบบการทำงาน แต่ก็ยังให้ควาสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของมนุษย์อย่างสอดคล้องทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเป็นระบบ และถือเป็นต้นแบบที่น่าสนใจอย่างยิ่ง