ไฮไลท์

Highlights

02 February 2022

ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 #iCPCJ2022 หัวข้อหลักที่ 2: ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา เพื่อให้เห็นภาพของการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ผ่านกลไกและเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรอบความตกลงระหว่างประเทศ การส่งเสริมและผลักดันประเด็นด้านความยุติธรรมผ่านกลไกสหประชาชาติ (United Nations) และความร่วมมือในระดับภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาและการใช้มาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาต่อไป โดยในหัวข้อหลักที่ 2 นี้ iCPCJ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงาน Partner สำคัญอย่าง UNODC มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • ภาพรวมของกรอบความตกลงระหว่างประเทศด้านการป้องกันอาชญากรรม (อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร หรือ UNTOC) โดยคุณ Riikka Puttonen Programme Manager of the Global Programme on Implementing the Organized Crime Convention: from Theory to Practice UNODC
  • ความคืบหน้าของกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านความยุติธรรมทางอาญา โดยคุณ Kunihiko Tanaka Consultant, UNODC
  • การผลักดันประเด็นด้านความยุติธรรมในระดับสหประชาชาติ  โดยคุณ Naoki Sugano, Crime Prevention and Criminal Justice Officer, UNODC
  • การส่งเสริมความยุติธรรมในระดับภูมิภาค โดยคุณ Un Sovannasam, Director of Legal Services and Agreement Directorate, Department of Corporate and Community Affairs, ASEAN Secretariat

โดยช่วงท้ายของการอบรม มีการบรรยายพิเศษ โดย คุณวงศ์เทพ อรรถไกวัลวที ที่ปรึกษา TIJ และที่ปรึกษาของหลักสูตร iCPCJ อดีตรองเลขาธิการอาเซียนด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ร่วมให้ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการพัฒนาและการใช้มาตรฐานและบรรทัดฐานสหประชาชาติด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา